ChatGPT ใช้ไม่ดีระวังละเมิดลิขสิทธิ์ไม่รู้ตัว!

วันก่อนผู้เขียนได้มีโอกาสไปอ่านเจอข้อมูลของทางกรุงเทพธุรกิจที่ได้ลงข่าวเรื่อง “ลอกข้อความมาจาก ChatGPT ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์” ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสนใจมากเพราะทุกวันนี้หลายวงการก็มีการนำ ChatGPT มาใช้โดยเฉพาะกับงานเขียน ซึ่งในเนื้อข่าวได้มีการระบุถึงการฟ้องร้องของบรรดานักเขียนเป็นจำนวนมากในหลายรัฐของสหรัฐอเมริกา ที่ได้มีการยื่นฟ้อง ChatGPT 

ว่ามีการเข้าถึงงานเขียนของพวกเขาโดยไม่ได้รับอนุญาต ในการประมวลผลตอบปัญหาบน ChatGPT ซึ่งใครสนใจก็สามารถไปอ่านเพิ่มเติมได้ที่กรุงเทพธุรกิจเดี๋ยวจะฝากลิงก์ไว้ให้

 

แม้ว่าตอนนี้จะยังไม่เกิดเรื่องทำนองเดียวกันในประเทศไทย แต่ถ้าหากเราไปดูกันจริง ๆ การลอกข้อความมาจาก ChatGPT นั้น อาจเข้าข่ายเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติ

ลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ มาตรา 6 ที่กำหนดว่า งานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ ได้แก่งานสร้างสรรค์ประเภทวรรณกรรม นาฏกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง งานแพร่เสียงแพร่ภาพ หรืองานอื่นใด ในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ ของผู้สร้างสรรค์ไม่ว่างานดังกล่าวจะแสดงออกโดยวิธีหรือรูปแบบอย่างใด

 

หากข้อความที่ลอกมาจาก ChatGPT นั้น มีลักษณะเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ เช่น บทความ บทกวี บทเพลง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น ก็อาจเข้าข่ายถือว่าผู้ลอกข้อความนั้นได้ทำการละเมิดลิขสิทธิ์ของเจ้าของผลงานต้นฉบับ โดยเจ้าของผลงานต้นฉบับสามารถฟ้องร้องผู้ลอกข้อความได้

 

อย่างไรก็ตาม การนำข้อความจาก ChatGPT ไปใช้โดยไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ สามารถทำได้หากผู้ใช้งานปฏิบัติตามเงื่อนไขการใช้งานของ ChatGPT ดังนี้ ข้อความที่ถูกสร้างขึ้นโดย ChatGPT ต้องไม่ถูกใช้เพื่อการค้า ในกรณีที่ใช้ข้อความจาก ChatGPT เพื่อวัตถุประสงค์ทางการศึกษาหรือวิจัย ผู้ใช้งานต้องให้เครดิตเจ้าของลิขสิทธิ์โดยระบุชื่อและแหล่งที่มาของข้อความอย่างชัดเจน

นอกจากนี้ ผู้ใช้งานควรระมัดระวังในการคัดลอกข้อความจาก ChatGPT ไปใช้ เนื่องจาก ChatGPT นั้นได้รับการฝึกฝนด้วยชุดข้อมูลขนาดใหญ่ ซึ่งอาจรวมถึงข้อความที่มีลิขสิทธิ์อยู่ด้วย

 

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/tech/innovation/1097225?anm&fbclid=IwAR280elHpF2JLJ8h0AAZcy3o30gfs_3t6qZk6B54P6XchirAhrWUryoyJs0

 

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on linkedin
LinkedIn